เมนู

เพราะเป็นเหมือนเชือกด้วยอรรถว่าผูกไว้แน่น. เชือกคือตัณหา ชื่อว่า ตณฺหา-
คทฺทุลํ.
สมุทร (ทะเล) คือตัณหาด้วยอรรถว่าให้เต็มได้ยาก เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ตัณหาเหมือนสมุทร.

ว่าด้วยนิทเทสแห่งโทสะ


พึงทราบวินิจฉัยในโทสนิทเทส ต่อไป.
คำว่า อนตฺถํ เม อจริ (ผู้นี้ได้กระทำความเสื่อมเสียแก่เรา) คือ
ได้กระทำความไม่เจริญแก่เรา. พึงทราบเนื้อความในบททั้งปวงโดยอุบายนี้
คำว่า อฏฺฐาเน วา ปน อาฆาโต (หรืออาฆาตอันเกิดขึ้นได้ใน
ฐานะอันมิใช่เหตุ) ได้แก่ความโกรธย่อมเกิดขึ้นในฐานะอันมิใช่เหตุ จริงอยู่
บุคคลบางคนย่อมโกรธในฐานะอันมิใช่เหตุว่า ฝนย่อมตกเกินไป ย่อมโกรธว่า
ฝนไม่ตก ย่อมโกรธว่า พระอาทิตย์ร้อน ย่อมโกรธว่า พระอาทิตย์ไม่ร้อน
เมื่อลมพัดอยู่ก็โกรธ ลมไม่พัดก็โกรธ เมื่อไม่สามารถจะกวาดลานก็โกรธใบ
โพธิ์ทั้งหลาย เมื่อไม่สามารถจะห่มจีวรได้ก็โกรธลมพัด สะดุดหกล้มก็โกรธตอ
ไม้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึงความโกรธนี้จึงตรัสว่า อฏฺฐาเน วา ปน
อาฆาโต ชายติ
(หรืออาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ในฐานะอันมิใช่เหตุ) ดังนี้.
บรรดาความโกรธเหล่านั้น ความแตกแห่งกรรมบถย่อมมีเพราะอาฆาตเกิดขึ้น
ปรารภสัตว์ทั้งหลายในฐานะ 9 ข้างต้น แต่อาฆาตในฐานะอันมิใช่เหตุเกิดใน
สังขาร ย่อมไม่ทำการแตกกรรมบถ.
โทสะที่ชื่อว่า จิตอาฆาต เพราะอรรถว่า เกิดขึ้นยังจิตให้อาฆาตอยู่
ความอาฆาตที่แรงกว่านั้น ชื่อว่า ปฏิฆาโต (ความขัดเคือง). ที่ชื่อว่า ปฏิฆะ
(ความกระทบกระทั่ง) ด้วยอำนาจความหงุดหงิด. ที่ชื่อว่า ปฏิวิโรโธ (ความ
แค้น) เพราะคับแค้นใจ. ที่ชื่อว่า โกโป (ความเคือง) ด้วยอำนาจแห่ง